"ช่วยจำ" เรื่อง ....การวิจัยและสถิติทางการศึกษา  

 

การวิจัย หมายถึงการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ คำตอบใหม่ ๆ วิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ โดยใช้กระบวนการที่เชื่อถือได้ หรือเป็นที่ยอมรับในศาสตร์นั้น ๆ 

การวิจัยทางการศึกษา หมายถึงการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ  วิธีการแก้ปัญหาใหม่ ๆ หรือคำตอบใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยวิธีการที่เชื่อถือได้ และยอมรับในศาสตร์การศึกษา

ตัวแปร หมายถึง เงื่อนไข คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้วิจัยนำมาศึกษา สังเกต หรือควบคุม
เป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนค่าได้  ตัวแปรมีหลายประเภทดังนี้
       
         1.  ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรต้น หรือตัวแปรทดลอง หรือตัวแปรจัดกระทำ หรือตัวแปรเหตุ  เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัย
มุ่งศึกษา
         2.  ตัวแปรตาม หรือตัวแปรผล เป็นตัวแปรที่เกิดจากหรือเป็นผลจากตัวแปรอิสระ  ต้องเป็นตัวแปรที่วัดได้
สังเกตได้

ตัวแปรทั้ง 1 และ 2 เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งศึกษา  ยังมีตัวแปรอื่น ๆ ที่ผู้วิจัยไม่ได้มุ่งศึกษาได้แก่

1.  ตัวแปรภายนอก หรือตัวแปรเกิน หรือตัวแปรแทรกซ้อน
          2.  ตัวแปรเชื่อมโยง หรือตัวแปรสอดแทรก(อยู่ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม มีลักษณะเป็นนามธรรม วัดหรือสังเกตได้ยาก)

ตัวแปรทั้งสองตัวนี้เป็นตัวแปรที่ต้องควบคุมหากยังไม่ต้องการศึกษา

สมมติฐาน หมายถึง  ข้อความที่เราตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยตอบปัญหา หรือข้อสงสัยที่ต้องการคำตอบ เป็นข้อความที่สังเคราะห์มาจากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้  จะเกี่ยวพันกับตัวแปรอย่างน้อยสองตัว สมมติฐานจะมีสองลักษณะคือ สมมติฐานการวิจัย และสมมติฐานทางสถิติ

- สมมติฐานการวิจัย มีลักษณะตามความหมายที่กล่าวถึงแล้ว เช่น  เพศชายและเพศหญิงมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ต่างกัน  คนสูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่าคนไม่สูบบุหรี่

- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำสมมติฐานการวิจัยมาเขียนในรูปสัญลักษณ์ มี 2 ชนิดคือ
    1. สมมติฐานไร้นัย(บางที่เรียกสมมติฐานศูนย์, สมมติฐานว่าง) เขียนแทนว่า
H0
    
2. สมมติฐานอีกนัย(บางที่เรียกสมมติฐานทางเลือก) เขียนแทนว่า H1

สถิติเชิงบรรยายหรือสถิติพรรณนา (บางที่เรียกสถิติเบื้องต้น) เป็นสถิติพื้นฐานที่ศึกษาเพื่ออธิบายข้อมูลสำหรับกลุ่มประชากรที่ศึกษา ไม่สามารถนำไปอ้างอิงไปยังประชากรทั่วไปได้ มีดังนี้

                -กลุ่มที่ใช้วัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางหรือหาค่ากลางของข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  มัธยฐาน  ฐานนิยม
                -กลุ่มที่ใช้วัดการกระจาย
ได้แก่ พิสัย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ความแปรปรวน  ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย
                -กลุ่มที่ใช้วัดความสัมพันธ์ ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบต่าง ๆ

ถ้าจำแนกกรณีอธิบายลักษณะข้อมูล
               -ถ้าอธิบายลักษณะตัวแปรเชิงปริมาณ ใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม เปอร์เซ็นต์ไทล์
เดไซล์  ควอไทล์  พิสัย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
               -ถ้าอธิบายลักษณะตัวแปรเชิงคุณภาพ ใช้ ร้อยละ ฐานนิยม
               -ถ้าอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณ ใช้ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเส้น
ส่วนตัวแปรเชิงคุณภาพ ใช้การสร้างตารางไขว้

สถิติอ้างอิง หมายถึงสถิติที่ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างแล้วนำผลออกมาขยายอิงหรืออ้างอิงไปยังประชากรโดยใช้ทฤษฎีความน่าจะเป็นหรือการทดสอบสมมติฐาน มี 2 ประเภทคือ
            2.1 สถิติมีพารามิเตอร์ เช่น t-test, Z-test, ANOVA, Regression ฯลฯ เป็นสถิติที่ต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นในการใช้
            2.2 สถิติไร้พารามิเตอร์ เช่น ไคสแควร์
, Medium Test, Sign Test ฯลฯ เป็นสถิติที่ไม่ต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นคือตาม 2.1

                สถิติที่กล่าวมา สามารถนำมาใช้  สรุปได้ 2 กรณีคือ
            1.  เพื่อเปรียบเทียบ/ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย สัดส่วน ความแปรปรวน
            2.  เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปร

ในการนำไปใช้ต้องดูข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติแต่ละประเภทก่อน

-2512500022