ผู้ชนะ..ที่ไร้เหรียญรางวัล

  ลังเสียงประกาศต้อนรับผู้ได้รับรางวัลโนเบล  ทุกคนต่างยืนขึ้นปรบมือเป็นเกียรติสูงสุดแก่ผู้ที่ชนะการตัดสินรางวัลโนเบลเป็นเกียรติยศ
ที่มอบให้กับผู้ทำคุณประโยชน์แก่มนุษย์มากที่สุดทางด้านเคมี ฟิสิกส์ แพทย์ศาสตร์ วรรณกรรม และสันติภาพ ทุกปีราวเดือนตุลาคม
นักวิทยาศาสตร์และผู้ที่มีผลงานที่มีชื่อเสียงระดับโลกต่างเผ้ารอโทรศัพท์สายตรงจากกรุงสตอร์กโฮม เพื่อลุ้นว่าจะเป็นหนึ่งในผู้ที่จะได้รับรางวัล
อันทรงเกียรตินั้นหรือไม่ เพราะไม่แค่ตัวเองที่จะได้รับชื่อเสียงเกียรติยศ  แต่ยังรวมไปถึงประเทศและชาติกำเนิดของตน

            หลายคนทราบดีว่า  อัลเฟรด  โนเบล  ในขณะที่ยังมีชีวิตเมื่อราว 100 กว่าปีมาแล้ว เป็นผู้ร่ำรวยมากที่สุดในโลกคนหนึ่ง 
จากการทำธุรกิจดินระเบิด "ความมั่งคั่งของเขาฆ่าคน" เขาจึงได้พยายามลบล้างคำกล่าวหานี้ 
โดยเมื่อวันที่ 27  ธันวาคม พ.ศ. 2438 โนเบลมอบเงินมรดก 9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อจัดตั้งกองทุนรางวัลโนเบลมอบให้แก่บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้กับมนุษย์มากที่สุด โดยมี
Royal  Swedish  Academy  of  Sciences พิจารณาในสาขาฟิสิกส์ และเคมี   Swdeish Academy ตัดสินในสาขาวรรณกรรม สถาบัน Karolinska  Institute  คัดเลือกผู้ชนะรางวัลในสาขาแพทย์ศาสตร์  และรัฐสภานอร์เวย์ดูแลรางวัลสาขาสันติภาพ
การประกาศผลจะทำในทุกวันที่ 10 ธันวาคม (ครบรอบวันเสียชีวิตของโนเบล) ของทุกปี ทุกวันนี้ผู้ชนะนอกจากจะได้เกียรติยศชื่อเสียงแล้วยังได้เงินเป็นจำนวนราว 940,000 เหรียญสหรัฐฯ แม้เงินจะน้อยกว่าบางรางวัลที่มีอยู่ในโลกนี้ แต่ทุกคนย่อมรู้ดีว่าไม่มีรางวัลใดยิ่งใหญ่เทียบเท่ากับโนเบลได้เลย  นั่นอาจเป็นเพราะผู้ที่ได้รางวัลนี้ในยุคแรก ๆ นั้นผลติผลงานที่มีคุณภาพและยิ่งใหญ่ระดับที่สามารถเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้ เช่น วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เกน ผู้พบรังสีเอกซ์ หรือ มารีและปิแอร์ คูรี ผู้ศึกษากัมมันตภาพรังสี

          แต่ก็ยังมีอีกหลายท่านที่มีผลงานที่ยิ่งใหญ่แต่ไม่ได้รับรางวัลนี้  ทั่วโลกมีผู้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติจำนวนมาก  แล้วก็มีผู้ที่พลาดรางวัล
เป็นจำนวนมากเช่นกัน  คณะกรรมการตัดสินต้องเก็บเรื่องรายละเอียดของการตัดสินเป็นความลับ จนกว่าเวลาจะผ่านไปแล้ว 50 ปี ผู้ที่คาดว่าจะได้รางวัลกลับพลาด  ผลงานของเขาด้อยตรงไหน เปล่าเลยผลงานต่าง ๆ ที่ถูกเสนอชื่อต่างก็มีความสำคัญต่อโลกทั้งสิ้น
แต่บางเรื่องก็ไม่สามารถจัดให้กับกับชื่อรางวัลได้ เช่น ซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิทยาชื่อก้องโลก
ผู้มีชื่อเสียงจากการเสนอทฤษฎีของจิตใจและจิตใต้สำนึกว่ามีอิทธิพลต่อนิสัย
ผลงงานของเขาเปลี่ยนทัศนะคติด้านจิตวิทยาไปอย่างมากมาย  รางวัลโนเบลไม่มีสาขาจิตวิทยา

คณะกรรมการ 3-5 คน ในการตัดสินรางวัลแต่ละประเภทนั้นต้องมีความรอบคอบอย่างสูงเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ที่พลาดการประกาศชื่อ  
บางคราวก็มักเกิดความสับสนในการตัดสิน  อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์นักฟิสิกส์ผู้โด่งดังจากทฤษฎสัมพัทธภาพแต่เขากลับได้รับรางวัลนี้
ในเรื่องที่เขาอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก  10 ปี หลังจากที่หนึ่งในคณะกรรมการเห็นว่าสัมพันธภาพของเขาเหลวไหล เอ็ดวิน ฮับเบิ้ล
นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ผู้ค้นพบว่าจักรวาลกำลังขยายตัว ปรากฏการณ์
redshift ที่ฮับเบิ้ลพบนี้ คณะกรรมการสาขาฟิสิกส์ในขณะนั้นไม่ยอมรับกันว่าเป็นฟิสิกส์  แต่ในปี พ.ศ. 2496 คณะกรรมการได้มีมติให้งานของฮับเบิ้ลได้รับรางวัล ทว่าเขาเสียชีวิตลงในปีนั้น คณะกรรมการจึงยกเลิกคำตัดสินไป ในปีพ.ศ. 2446   สแวนเต อาร์รีเนียส (Svante Arrhenius) หนึ่งในคณะกรรมการสาขาเคมีไม่เห็นด้วยที่จะมอบรางวัลสาขานี้ให้กับ
ดมิทรี เมนเดเลเยฟ นักเคมีชาวรัสเซีย  เพราะไม่พอใจในคำวิพากษ์วิจารณ์ของเมนเดเลเยฟในงานของตนอย่างรุนแรง เมนเดเลเยฟ
พลาดรางวัลนั้นไปตลอดกาล เขาจากไปในปี  พ.ศ. 2447 โดยทิ้งสิ่งที่คนทั้งโลกไม่มีวันลืมคุณประโยชน์อันมหาศาลที่เขาสร้างไว้ คือ ตารางธาตุ
แม้จะมีประเด็นต่าง ๆ ที่สร้างความสับสนในการตัดสินรางวัลมากมายก็ตาม ก็ไม่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำย่อท้อที่จะสร้างผลงานออกมา
อย่างต่อเนื่อง  เพราะหลายคนทำงานโดยไม่ได้หวังที่จะชิงเอารางวัลหรือชื่อเสียงเกียรติยศ แม้จะได้รับรางวัล แต่บางครั้งก็เหมือนถูกลืม 
ในทางกลับกันถึงจะไม่ได้รับรางวัลนี้ แต่ทั่วโลกก็รู้จักและยอมรับผลงานของพวกเขา อยู่ที่เราจะเลือกจดจำใคร
ผลงานสร้างความยิ่งใหญ่ได้แม้ไร้เหรียญรางวัล แล้วรางวัลมันสำคัญตรงไหน
????

 

ที่มา : กุมภ์(นามแฝง).  "หนึ่งหน้าโลกวิทยาศาสตร์"วารสารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ & ธรรมชาติ.49(5) : 18-19 ; มิถุนายน,  2549.