กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

              ดูจากเรื่องในวันนี้แล้ว  อาจทำให้ รู้สึกว่าสิ่งที่เราจะพูดคุยกันในวันนี้คงจะต้องใช้หลักวิชาการที่ยาก ๆ
    มาพูดคุยกันแน่เลย  จะเป็นอย่างที่คิดหรือเปล่า  เราลองมาเข้าสู่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กันเลยดีไหมครับ

              กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ถ้าจะพูดอีกอย่างก็คือ วิธีการที่เป็นขั้นตอนเพื่อแก้ไขปัญหาหรือเพื่อเปิดประตู
    สู่ความรู้ใหม่นั้นเองแหละครับ ซึ่งขั้นตอนต่าง ๆ ก็คือ

              1. ระบุปัญหา
              2. ตั้งสมมุติฐาน
              3. รวบรวมข้อมูล
              4. ทดสอบสมมุติฐานกับข้อมูลที่มีอยู่
              5. ตั้งข้อสรุป
              6. ตรวจสอบ

          หลายคนคงนึกว่า ทำไมมันถึงมีขั้นตอนอะไรมากมายนัก เอาเป็นว่าเดี๋ยวเราจะลองเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง
    อย่างง่าย ๆ ดูนะครับ เอาล่ะสมมุติว่ากระเป๋าสตางค์ของเราถูกขโมยไปจากโต๊ะเขียนหนังสือในห้องนอน
    ซึ่งเป็นที่สุดท้ายที่เราวางไว้ นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น(
ข้อที่ 1) ของเรา ที่นี้เราก็มาตั้งสมมุติฐาน(ข้อที่ 2)นั่นก็คือ
    มีคนที่สามารถเข้าห้องเราได้อยู่ 3 คน ซึ่งคนใดคนหนึ่งใน 3 คน ต้องเป็นคนขโมยแน่นอน นั่งก็คือ คุณแม่
    น้องชายและญาติของเรา ที่นี้ก็มารวบรวบข้อมูล(
ข้อที่ 3) ซึ่งก็พบว่า คุณแม่นั้นออกไปช็อปปิ้งทั้งวัน
    น้องชายอ่านหนังสืออยู่ในห้อง ส่วนญาติเรานั้นไปซักผ้า และยังรู้อีกว่าน้องชายติดหนี้เพื่อนที่เรารู้จักจำนวนหนึ่ง
    จากนั้นจึงทำการทดสอบสมมุติฐาน(
ข้อ 4) โดยเข้าไปตรวจในครัวซึ่งพบของกินที่ซื้อมาใหม่ และใบเสร็จ
    ที่ลงเวลาตอนเย็น(แสดงว่าคุณแม่ไปช็อปปิ้งจริง) และยังเจอผ้าที่ซักเสร็จและพับไว้หลายกองในห้องซักผ้า
    (แสดงว่าญาติของเราซักผ้าจริง) จากนั้นลองโทรหาเพื่อนของน้องและทราบว่าน้องเราได้ใช้หนี้ที่ติดไว้แล้ว
    ซึ่งทำให้เราตั้งข้อสรุป(
ข้อที่ 5)ได้ว่า น้องชายเราคือ คนที่เอาเงินไป  จากนั้นก็ตรวจสอบ(ข้อที่ 6) โดยการเรียก
    น้องชายมาพูดคุย และเขาก็ยอมรับ...
          ที่เล่ามาทั้งหมดเป็นเพียงตัวอย่างที่สมมุติขึ้นเพื่อทำให้เราเข้าใจวิธีการคิดแบบวิทยาศาสตร์มากขึ้น 
    และทราบว่าวิธีคิดแบบนั้นสามารถใช้ได้กับเรื่องทั่ว ๆ ไปที่เกิดขั้นในชีวิตประจำวันได้ด้วย  ไม่จำเป็น
    ต้องเป็นเรื่องยาก ๆ แต่เป็นการคิดอย่างเป็นระบบ และเป็นขั้นตอนนั่นเอง

          และที่สำคัญมากอีกอย่างนะครับ ก็คือไม่จำเป็นว่าข้อสรุปที่เราคิดนั้นต้องถูกต้องเสมอไป  เพียงแต่
    มีความเป็นไปได้ตามข้อมูลที่รวบรวมมา  ซึ่งถ้าเราสรุปผิด  ก็มารวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหาข้อสรุปใหม่
    จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ดีที่สุดต่อไป  เพื่อน ๆ ครับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากมายในโลกนี้ก็ต้องผ่าน
    การทดลองที่ผิดพลาดมากันทั้งนั้นกว่าจะประสบความสำเร็จ  นั่นแสดงให้เห็นว่านอกจากหลักการคิดที่เป็น
    ขั้นตอนแล้ว ความมานะอดทนก็เป็นสิ่งสำคัญของความสำเร็จด้วยนะครับ

เรียบเรียงจาก
นายลูกเต๋า(นามแฝง).  "กระบวนการทางวิทยาศาสตร์"วารสารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
& ธรรมชาติ.49(5) : 14-15 ; มิถุนายน,  2549.