ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

        ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เป็นหยาดน้ำฟ้า คือการที่น้ำที่อยู่บนฟ้าในสถานะต่าง ๆ ตกลงมา
บนพื้นโลก ได้แก่ ฝน หิมะ และลูกเห็บ
   ส่วนหมอก น้ำค้าง น้ำค้างแข็งไม่ใช่หยาดน้ำฟ้า เพราะไม่ได้ตกลงมาจากบรรยากาศ

                หยาดน้ำฟ้าที่เป็นของเหลวได้แก่ ฝน ส่วนหยาดน้ำฟ้าที่เป็นของแข็ง ได้แก่ ลูกเห็บ และหิมะ       

        การวัดปริมาณน้ำฝนสามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์อย่างง่ายเป็นภาชนะทรงกระบอกรองรับน้ำฝน โดยมีภาชนะที่มีลักษณะเป็นกรวยเส้นผ่าศูนย์กลางของปากกรวยเท่ากับปากภาชนะที่รองรับน้ำ (ขนาดมาตรฐานจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว)  การบอกปริมาณน้ำฝนจะบอกเป็น มิลลิเมตร  และสามารถลงข้อสรุปว่าฝนที่ตกในวันหนึ่ง ๆ มากน้อยเพียงใด

 

     โดยนำไปเทียบกับเกณฑ์การวัดน้ำฝน ซึ่งกำหนดเป็นมาตรฐาน
สำหรับประเทศไทยว่า

ฝนตกเล็กน้อย
   มีปริมาณ          0.1    -  10  มิลลิเมตร
ฝนตกปานกลาง
 มีปริมาณ          10.1   -  35  มิลลิเมตร
ฝนตกหนัก         มีปริมาณ
          35.1   -  90  มิลลิเมตร
ฝนตกหนักมาก   มีปริมาณ
          90.1   มิลลิเมตร   ขึ้นไป

 


ลูกเห็บ
มักเกิดขึ้นเมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง  อย่างรุนแรงตอนต้นฤดูร้อน  และเกิดมาก  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ  และภาคกลางตอนบน โดยขณะเกิดพายุฝน  ฟ้าคะนอง  จากฝนที่เกิดขึ้นจากเมฆคิวมูโลนิมบัส  เม็ดฝนที่เย็นจัดจนเป็นน้ำแข็งจะถูกลมพัดวนในเมฆ ทำให้เกิดการพอกตัวของน้ำแข็งเป็นชั้น ๆ จนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนตกลงมาถึงพื้นก่อนที่จะละลายจึงเห็นเป็นก้อนน้ำแข็ง

 

หิมะ เกิดในบริเวณเขตหนาวที่มีอุณหภูมิของอากาศ ลดต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียส ไอน้ำในอากาศจะระเหิดกลับเป็นผลึกน้ำแข็งตกลงสู่พื้นโลกในลักษณะที่ยังคงเป็นผลึกน้ำแข็ง หากอุณหภูมิของพื้นโลกต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง

::บรรยากาศ::

หน้าแรก แบบทดสอบก่อนเรียน วัฏจักรของน้ำ เมฆในท้องฟ้า
บรรยากาศ อุณหภูมิของอากาศ ความดันอากาศ ความชื้นของอากาศ
ลม แบบฝึก(1) แบบฝึก(2) แบบฝึก(3)
  แบบทดสอบหลังเรียน แหล่งข้อมูลอ้างอิง