ช่วยจำ เกณฑ์การประเมิน....
การประเมิน หมายถึง
กระบวนการที่ให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจในการพัฒนางานต่าง ๆ
โดยเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด
เป้าของการประเมินหรือสิ่งที่มุ่งประเมิน
สิ่งที่ต้องการประเมิน (Object of
Evaluation) เป็นสิ่งที่ผู้ประเมิน มุ่งตัดสินคุณค่า ซึ่งมีหลายระดับ
แต่ละระดับสัมพันธ์และเป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน โดยมุ่งสู่สิ่งสูงสุดเดียวกัน
คือ สังคม จุดมุ่งหมายของการประเมิน เป็นความคาดหวังจากการประเมิน 2 ลักษณะ คือ
- วัตถุประสงค์ของการประเมิน หมายถึง
สิ่งที่มุ่งหวังให้เกิดขึ้น หรือสิ่งที่ต้องจัดทำให้ปรากฏในการประเมิน ซึ่งได้แก่
"การตัดสินคุณค่า" ของสิ่งที่มุ่งประเมิน
- เป้าหมายของการประเมิน หมายถึง
จุดหมายปลายทางของการดำเนินงาน คือ "การพัฒนาคุณค่า" ของสิ่งที่มุ่งประเมิน
บทบาทของการประเมิน
ลักษณะความต้องการสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารเป็นตัวกำหนดบทบาทของการประเมิน
(Role of Evaluation) ซึ่งสามารถจำแนกเป็นบทบาทที่สำคัญได้ 2 บทบาท คือ
การเสนอสารสนเทศระหว่างการดำเนินงาน (Formative) และหลังสิ้นสุดการดำเนินงาน (Summative)
ประเด็นการประเมิน ก็คือสิ่งที่จะบ่งชี้ว่าวัตถุประสงค์นั้นสำเร็จหรือไม่ เป็นการดูกว้าง ๆ ยังไม่ถึงตัวชี้วัด จากประเด็นจะโยงมาถึงตัวชี้วัด เกณฑ์ คือ ปริมาณหรือคุณภาพขั้นต่ำที่จะยอมรับได้ของแต่ละตัวชี้วัด หรืออาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ตัวชี้วัด จะมาคู่กับสิ่งที่เรียกว่า เกณฑ์ (ศิริเดช สุชีวะ 2548: 175-177)
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด หรือตัวบ่งชี้ (Indicator)
ในภาษาไทยมีใช้อยู่หลายคำ เช่น ดัชนี ตัวบ่งชี้ ตัวชี้วัด เครื่องชี้วัด เป็นต้น
หมายถึง สิ่งต่าง ๆ หรือลักษณะต่าง ๆ
ที่ระบุถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเด็นที่ต้องประเมิน (สุวิมล
ตริกานนท์ 2549: 86)
หมายถึง ตัวประกอบ ตัวแปร
หรือค่าที่สังเกตได้
ซึ่งใช้บ่งบอกสถานภาพหรือสะท้อนลักษณะการดำเนินงานหรือผลการดำเนินงาน
(ศิริชัย กาญจนวาสี 2545: 84)
หมายถึง สิ่งที่บอกสภาพ
หรือสภาวะในลักษณะใดลักษณะหนึ่งในเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพของสถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
ณ ที่ใดที่หนึ่ง
เป็นการนำข้อมูลหรือตัวแปรหรือข้อความจริงมาสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดคุณค่าหรือคุณค่าที่สามารถชี้ให้เห็นลักษณะของสภาพการณ์นั้น
ๆ (ผดุงชัย ภู่พัฒน์ 2545: 170)
สรุปความหมายของตัวชี้วัด ได้ว่า
หมายถึง สิ่งที่สามารถวัดหรือสังเกตได้เพื่อบอกสภาพทั้งในเชิงประมาณ
หรือเชิงคุณภาพในประเด็นที่ต้องการประเมิน
คุณสมบัติที่ดีของตัวชี้วัด
(ผดุงชัย ภู่พัฒน์ 2545: 174)
1) สอดคล้องกับประเด็นที่ต้องการวัด
มีความตรง (validity) และมีความเที่ยง (reliability)
2) เป็นรูปธรรม
วัดหรือสังเกตได้อย่างชัดเจน
3)
มีความเชื่อถือได้และได้รับการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้อง
4) มีความไวต่อความแตกต่าง (sensitivity)
(วัดความแตกต่างระหว่างหน่วยวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง)
ลักษณะของตัวชี้วัดทางการศึกษา ควรมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ คือ
(เพชรา พิพัฒน์สันติกุล 2548: 235)
1)
ให้สารสนเทศเกี่ยวกับสภาพที่ศึกษาอย่างกว้าง ๆ ไม่จำเป็นต้องละเอียด แต่มีความถูกต้อง
แม่นยำ
2) มีลักษณะเป็นตัวแปรรวม
สร้างขึ้นจากการรวมตัวแปรที่ให้สารสนเทศแต่ละด้าน (facet)
3)
ค่าของตัวชี้วัดแสดงถึงปริมาณและการแปลความหมายซึ่งมีการเปรียบเทียบกับเกณฑ์/มาตรฐานที่กำหนด
4) ให้สารสนเทศ ณ จุดเวลา/
ช่วงเวลาเฉพาะ เมื่อนำตัวชี้วัดจากช่วงเวลาหลายจุดมาเทียบกัน
โดยสามารถแสดงสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
5) เป็นหน่วยพื้นฐาน(units)
สำหรับการพัฒนาทฤษฎีสำหรับศาสตร์ทุกสาขา
เกณฑ์
คำว่า "เกณฑ์" (criteria)
พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์
(ราชบัณฑิตยสถาน 2551: 99) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง
หลักการหรือมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อประเมินค่าเรื่องต่าง ๆ
ว่ามีคุณสมบัติตามที่ต้องการหรือไม่
หมายถึง
สิ่งที่ใช้เป็นหลักสำหรับการตัดสินใจ (บุญศรี พรหมมาพันธุ์ 2551:
40)
หมายถึง ปริมาณหรือคุณภาพขั้นต่ำที่จะยอมรับได้ของแต่ละตัวบ่งชี้
(ศิริเดช สุชีวะ (2548: 177)
หมายถึง ระดับที่ใช้ในการตัดสินความสำเร็จของการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ที่กำหนด
(สุวิมล ว่องวาณิช 2544: 75)
หมายถึง หลัก
หรือมาตรฐานที่ใช้ในการเลือกหรือตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Trumble
and other 2000: 492)
สรุปได้ว่า เกณฑ์
หมายถึงข้อกำหนดที่ใช้ตัดสินคุณภาพของการดำเนินงานหรือผลประกอบการที่ได้
คุณลักษณะของเกณฑ์การประเมินที่ดี
1) มีความท้าทายและเป็นไป
2)
สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
3) ได้รับการยอมรับจากฝ่ายต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้อง
(ผดุงชัย ภู่พัฒน์
2545: 185-187, บุญศรี พรหมมาพันธุ์ และคนอื่น ๆ 2547: 99-100)
เกณฑ์ที่เหมาะสมควรผันแปรอยู่ระหว่างปกติวิสัย(norms) และมาตรฐาน(standard)
โมเดลในการกำหนดเกณฑ์
1) โมเดลความงอกงาม (growth model)
เป็นการพิจารณาพัฒนาการที่เพิ่มขึ้น เช่น
การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนหลังเรียนกับก่อนเรียน อาจทำได้ 2 ลักษณะคือ
(1)
คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่
(2)
กำหนดช่วงคะแนนที่เพิ่มขึ้น
2) โมเดลสัมบูรณ์ (absolute model)
เป็นการกำหนดโดยหลักเหตุผล โมเดลนี้ มีอำนาจในการทำนายสูง
จะใช้ความเห็นของผู้เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้กำหนดขึ้น
หรืออาจกำหนดโดยอาศัยกฎเกณฑ์
3) โมเดลสัมพัทธ์ (relative model)
เป็นการเปรียบเทียบพฤติกรรมของกลุ่ม
(1)
การเปรียบเทียบกันเองภายในกลุ่ม
(2)
การเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นที่คล้ายคลึงหรือเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
(3)
การเปรียบเทียบกับค่าที่ทำนายไว้ (predictive criterion)
(บางที่จำแนกเป็น 2 แบบโดยรวม โมเดลความงอกงามไว้ในโมเดลสัมพัทธ์)
การเลือกโมเดลการกำหนดเกณฑ์การประเมินต้องให้เหมาะสม และสอดคล้องกับธรรมชาติของเป้าหมายในการประเมิน ควรพิจารณาบริบท และช่วงระยะที่ทำการประเมิน เป็นสำคัญ เช่นการประเมินผลของโครงการ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีลักษณะเฉพาะของโครงการ ควรใช้เกณฑ์สัมบูรณ์ตามมาตรฐานการปฏิบัติของโครงการนั้น ๆ แต่การประเมินในขั้นของการสรุปผลหลังการดำเนินโครงการควรใช้เกณฑ์สัมพัทธ์เพื่อให้ทราบถึงมาตรฐานของโครงการ เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
การตั้งเกณฑ์สัมบูรณ์ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ไม่ได้เทียบกับใคร
เป็นเกณฑ์ที่ผู้ประเมินตั้งขึ้นเองข้อพิจารณาเกี่ยวกับการตั้งเกณฑ์สัมบูรณ์มีที่มาจาก
4 แหล่งใหญ่ ๆ คือ
1.
ดูจากมาตรฐานวิชาชีพของเรื่องนั้น
2.
กำหนดจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านนั้น
3.
กำหนดเกณฑ์จากการคาดคะเนจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา
4.
เกณฑ์ได้มาจากปกติวิสัย (norm) เช่น เกณฑ์การตัดสินระดับสติปัญญาของคน ที่วัด IQ IQ
เท่าไรจึงจะแปลว่ามีความฉลาด โดยเทียบกับคนส่วนใหญ่