ปรากฏการณ์...ในระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ

                 วงดาว ที่เราเห็นอยู่ในท้องฟ้ามีอยู่  2  ประเภท  คือ  ดาวฤกษ์ และดาวเคราะห์  ดาวฤกษ์เป็นดาวที่มีแสงสว่างในตัวเอง  ส่วนดาวเคราะห์เป็นดาวที่ไม่มีแสงในตัวเอง  แต่ที่เราเห็นดาวเคราะห์สว่างได้  เพราะได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ 
            ก่อนที่เราจะเรียนรู้ต่อไปควรทำความเข้าใจกับเรื่องต่อไปนี้ก่อน

       ระบบสุริยะ (Solar system) เป็นระบบของดวงดาวระบบหนึ่งในกาแล็กซีทางช้างเผือก
(Milky Way) มีดวงอาทิตย์(The Sun) เป็นศูนย์กลาง
 ระบบสุริยะอยู่ห่างจากใจกลางกาแล็กซี  30,000  ปีแสง*

        
 กาแล็กซี (Galaxy) หรือดาราจักร เป็นระบบของดวงดาวที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์จำนวน
มากมาย รวมทั้งก๊าซ ฝุ่นละอองและวัตถุท้องฟ้าอื่น ๆ

         
เอกภพ (Universe) เป็นระบบรวมของกาแล็กซีประมาณ  100,000  ล้านกาแล็กซี  
มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลไร้ขอบเขต
 

 

ระบบสุริยะ

               ระบบสุริยะเป็นระบบที่มีดาวฤกษ์ คือ  ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง  และมีบริวาร  คือ  ดาวเคราะห์ 9  ดวง  ซึ่งประกอบด้วย  ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก  ดาวอังคาร  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  ดาวยูเรนัส  ดาวเนปจูน  และดาวพลูโต*  โดยดาวพุธ ดาวศุกร์ จัดเป็นดาววงใน   ส่วนดาวอังคาร  ดาวพฤหัสบดี  ดาวเสาร์  ดาวยูเรนัส  และดาวเนปจูน   เป็นดาววงนอก 

  นอกจากนี้ในระบบสุริยะยังประกอบด้วย  ดวงจันทร์  ดาวเคราะห์น้อย  อุกกาบาต  และดาวหาง 
โดยบริวา
ทั้งหมด โคจรรอบดวงอาทิตย์


 


ที่ประชุมสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) เมื่อ  14-24 ส.ค.49 กำหนดให้ดาวพลูโต เป็น"ดาวเคราะห์แคระ"
ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายนิยามของดาวเคราะห์ ต่างกันที่วงโคจรสามารถทับซ้อนกับดาวใกล้เคียงได้  และไม่ได้เป็นดวงจันทร์บริวารของดาวใด
นิยามความหมายของดาวเคราะห์
1) ต้องเป็นวัตถุท้องฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์
2) มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต
3) มีวงโคจรที่ชัดเจน และสอดคล้องกับดาวข้างเคียง
 

 

**ปีแสง ( light-year )  เป็นมาตราวัดระยะทางอย่างหนึ่งในทางดาราศาสตร์
1  ปีแสง หมายถึง  ระยะที่แสงเดินทางในสุญญากาศ ในเวลา หนึ่งปี ซึ่งเท่ากับ  9.46  ล้าน ล้านกิโลเมตร   
แสงเดินทางใน  1  วินาที  เท่ากับ  300,000  กิโลเมตร


 

คำนำ แบบทดสอบก่อนเรียน ระบบสุริยะ(2) กลางวัน กลางคืน/ทิศ
ข้างขึ้น ข้างแรม สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฤดูกาล น้ำขึ้นน้ำลง
แบบทดสอบหลังเรียน   แหล่งข้อมูลอ้างอิง ผู้จัดทำ