ปรากฏการณ์...ในระบบสุริยะ

กลางวัน กลางคืน และการกำหนดทิศ

ลกเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ในระบบสุริยะ  โดยโลกจะมีการเคลื่อนที่ 2 แบบ คือ  หมุนรอบตัวเอง  และโคจรรอบดวงอาทิตย์
โดยแกนเอียงของโลกทำมุม 23.5 องศาตามแนวตั้งฉากกับระนาบวงโคจร 
การที่โลกหมุนรอบตัวเอง  ทำให้บริเวณต่าง ๆ บนผิวโลกได้รับแสง และไม่ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์สลับกันไป  บริเวณที่ได้รับแสงก็จะเป็นเวลากลางวัน  ในขณะที่บริเวณที่ไม่ได้รับแสงจะเป็นเวลากลางคืน  เมื่อโลกหมุนไปได้ครึ่งรอบ  บริเวณที่เคยได้รับแสงจะเปลี่ยนเป็นไม่ได้รับแสง  ทำให้เวลาเปลี่ยนจากกลางวันเป็นกลางคืนและบริเวณนั้นจะได้รับแสงอีกครั้งเมื่อโลกหมุนไปอีกครึ่งรอบ  จะเห็นว่าการเกิดกลางวัน  กลางคืนก็เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเองนั่นเอง

                ช่วงความยาวของกลางวัน กลางคืนจะไม่เท่ากันตลอดทั้งปี เพราะแกนของโลกเอียง  เมื่อขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในราวเดือนมิถุนายน จะทำให้กลางวันยาวกว่ากลางคืน  แต่ในเดือนธันวาคม ขั้วโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์จะทำให้กลางวันสั้นกว่ากลางคืน  ส่วนในเดือนมีนาคม และกันยายน โลกหันข้างเข้าหาดวงอาทิตย์ จะทำให้กลางวันยาวเท่ากับกลางคืน

การเกิดทิศ

 

การที่โลกหมุนรอบตัวเองในทิศทวนเข็มนาฬิกา(หรือจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก)  จึงทำให้เห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ในทิศตามเข็มนาฬิกา  ทิศที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้น  กำหนดให้เป็นทิศตะวันออก  ส่วนทิศที่เห็นดวงอาทิตย์ตกลับไป  เรียกว่า  ทิศตะวันตก  จึงกล่าวได้ว่า 
การกำหนดให้มีทิศต่างๆ เกิดขึ้นเพราะโลกหมุนรอบตัวเองนั่นเอง

 

คำนำ แบบทดสอบก่อนเรียน ระบบสุริยะ(1) ระบบสุริยะ(2)
ข้างขึ้น ข้างแรม สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฤดูกาล น้ำขึ้นน้ำลง
แบบทดสอบหลังเรียน แหล่งข้อมูลอ้างอิง ผู้จัดทำ