เรื่องเรียนรู้ที่  3 
"เครื่องผ่อนแรง...เป็นอย่างไร(2)"

 
คาน (Levers) มีรูปร่างเป็นแท่งยาวตลอด ทำด้วยไม้ หรือ โลหะ หรือวัสดุแข็งอย่างอื่น แบ่งออกเป็นคานดีด  คานงัด  คานจะมีส่วนประกอบดังนี้
 -  น้ำหนักที่ต้องการจะยก หรืออาจเรียกว่าแรงต้านทาน(W)
 -  แรงพยายามที่จะยกวัตถุ
(P)
-  จุดหมุน
(F)  จะออกแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะห่างของ
จุดหมุนกับวัตถุที่จะยก

 

คานมี 3 ประเภท         
1. จุดหมุนอยู่ตรงกลาง ตัวอย่างอุปกรณ์ได้แก่ กรรไกร  คีมตัดลวด

2. แรงต้านทานอยู่ตรงกลาง เช่น รถเข็นปูน  ที่เปิดน้ำอัดลม


 


3. แรงพยายามอยู่ตรงกลาง  เช่น ที่เย็บกระดาษ  ที่หยิบน้ำแข็ง

 


 

ลิ่ม (Wedge) มีลักษณะคล้ายกับพื้นเอียง  2  ด้านมาประกอบติดกัน  ใช้สำหรับแยกเนื้อของวัตถุออกจากกัน 
ซึ่งเราจะเห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน  เช่น  สิ่ว  ขวาน  มีด  ตะปู


 สกรู (Screw) มีการทำงานคล้ายระบบพื้นเอียง  โดยแทนที่วัตถุจะเคลื่อนที่  ก็จะใช้สกรูในระบบวนรอบทรงกระบอกในลักษณะของวงกลมเป็นตัวเคลื่อนที่แทน  เราสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน  เช่น  ตะปูควง  นอต  เกลียวขวดต่าง ๆ    สกรูจัดเป็นเครื่องผ่อนแรงได้มากที่สุด

หน้าแรก คำชี้แจง ทดสอบก่อนเรียน แผนผังสวนวิทยาศาสตร์
ระบบนิเวศ มาสรุปความรู้..กันก่อน สำรวจสภาพอากาศ ทบทวนเรื่องนี้..กันหน่อย
เครื่องผ่อนแรง(1) ตรวจสอบความเข้าใจหน่อยนะ แกะรอย..นักวิทยาศาสตร์ ทบทวน...ส่งท้าย
  ทดสอบหลังเรียน เอกสารอ้างอิง