ปรากฏการณ์...ในระบบสุริยะ

ข้อมูลดาว


*ขนาดของภาพที่นำเสนอ ไม่ใช่สัดส่วนที่ถูกต้อง*


ดวงอาทิตย์
(The Sun) เป็นส่วนสำคัญที่สุดของระบบสุริยะ
 เป็นสิ่งดึงดูดให้ดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงอยู่ในตำแหน่งที่เป็นอยู่และดวงอาทิตย์ยังให้แสงและความร้อนกับดาวเคราะห์นั้นด้วย  ถ้าไม่มีดวงอาทิตย์ระบบสุริยะก็จะมืดมิดและหนาวเย็น   ที่ผิวของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิประมาณ 5,700 องศาเซลเซียส


ดาวพุธ  (Mercury )  เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด  อุณหภูมิด้านที่สว่างและมืดแตกต่างกันมาก  เนื่องจากไม่มีบรรยากาศห่อหุ้ม  ดาวพุธเปรียบประดุจดัง"เตาไฟแช่แข็ง"


ดาวศุกร์  (Venus )  เป็นดาวเคราะห์ที่มีอุณหภูมิสูงสุด  ทั้ง ๆ ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าดาวพุธ  ทั้งนี้เพราะมีชั้นบรรยากาศหนาทึบเป็นคาร์บอนไดออกไซด์  จึงทำให้เกิดการสะสมความร้อนไว้  เหมือนปรากฎการณ์เรือนกระจก  ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างที่สุดและได้ชื่อว่า  "ฝาแฝด"  กับโลก   ดาวศุกร์ปรากฏในท้องฟ้าทางทิศตะวันตกตอนค่ำ  เรียกว่า  " ดาวประจำเมือง "  ถ้าปรากฎทางทิศตะวันออกตอนเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นเรียกว่า "ดาวประกายพรึก " หรือ "ดาวรุ่ง"  ดาวศุกร์มีการหมุนต่างจากดาวเคราะห์อื่น ๆ คือหมุนจากตะวันออกไปตะวันตก


โลก
  (Earth)  เป็นดาวเคราะห์สีน้ำเงินที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ โลกประกอบด้วยแผ่นดินและพื้นน้ำ โดยมีพื้นน้ำมากว่าถึง  2  ใน  3  ส่วน  โลกหมุนรอบตัวเอง  1  รอบ ใช้เวลาประมาณ  1  วัน  และโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ  ใช้เวลา  365.26  วัน


ดาวอังคาร
  (Mars )  เป็นดาวเคราะห์ที่มีสีแดงคล้ายเลือดเนื่องจากเปลือกชั้นนอกเป็นออกไซด์ของเหล็ก  สมัยโบราณเรียกว่า  ดาวเทพเจ้าแห่งสงคราม  ในปี  พ.ศ. 2519  การสำรวจของยานอวกาศไวกิ้ง  1  ของสหรัฐอเมริกา พบว่า ดาวอังคารเคยมีน้ำไหลมาก่อน  แต่ปัจจุบันเหลือเพียงน้ำแข็งอยู่ใต้ผิวดิน  สภาพทั่วไปประกอบด้วยบรรยากาศเบาบาง  และมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่  ขั้วสีขาวที่เห็นคาดว่าเป็นน้ำหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เย็นจนแข็ง   เป็นดาวที่เชื่อกันว่าเคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่


ดาวพฤหัสบดี
  ( Jupiter)  เป็นดาวเคราะห์แก๊ส    มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด  โคจรเป็นรูปวงรีรอบดวงอาทิตย์  มีเนื้อสารมากที่สุด  ก๊าซที่ห่อหุ้มดาวพฤหัสส่วนใหญ่  ได้แก่ ก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซฮีเลียม  ลักษณะเด่นคือ  มีบรรยากาศเป็นแถบกว้างที่เส้นศูนย์สูตรและจุดแดงใหญ่อยู่ตรงกลาง

ดาวเสาร์ ( Saturn )   เป็นดาวเคราะห์ที่มีวงแหวนล้อมรอบ  เป็นดาวที่สวยงาม และมีความหนาแน่นน้อยที่สุดเป็นดาวที่มีขนาดใหญ่รองจากดาวพฤหัส 


ดาวยูเรนัส
  (Uranus )  หรือดาวมฤตยู  เป็นดาวเคราะห์แก๊ส และเป็นดาวดวงแรกที่ถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์  มองด้วยตาเปล่าเห็นยากมาก  แกนหมุนของดาวดวงนี้เกือบอยู่ในระนาบเดียวกับทางโคจรรอบดวงอาทิตย์  ทำให้ดูเหมือนดาวยูเรนัสกลิ้งไปบนทางโคจร 


ดาวเนปจูน
( Neptune )   หรือดาวสมุทร เป็นดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบโดยการคำนวณว่าอยู่ที่ใดบน
ท้องฟ้า  แล้วจึงใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดูตามตำแหน่งที่คำนวณไว้
 


ดาวพลูโต
(Pluto )  หรือดาวยม  เป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุด  มีขาดเกือบเท่าดวงจันทร์  ที่เป็น
บริวารของมัน  อยู่ห่างดวงอาทิตย์มากที่สุด  ความรู้ต่าง ๆ จากดาวดวงนี้ยังไม่ชัดเจนมากนัก

ที่ประชุมสมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) เมื่อ  14-24 ส.ค.49 กำหนดให้ดาวพลูโต เป็น"ดาวเคราะห์แคระ"
ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายนิยามของดาวเคราะห์ ต่างกันที่วงโคจรสามารถทับซ้อนกับดาวใกล้เคียงได้  และไม่ได้เป็นดวงจันทร์บริวารของดาวใด

 


ดวงจันทร์
 ( Moon)  เป็นบริวารของโลก  โดยโคจรรอบโลกและหมุนรอบตัวเองใช้เวลาเท่ากัน คือ 29.5 วัน  ดวงจันทร์มีคุณสมบัติหลายอย่างคล้ายกับเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง


ดาวเคราะห์น้อย
(Astroid / planetoid)  คือวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ในระบบสุริยะ  มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่เกือบพันกิโลเมตร  ดวงที่ใหญ่ที่สุด ชื่อ เซเรส (Ceres )   
กลุ่มดาวเคราะห์น้อยโคจรรอบดวงอาทิตย์  อยู่ระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัส


ดาวตก
( Meteor )   เป็นของแข็งที่มีขนาดเล็ก  เมื่อเคลื่อนเข้ามาใกล้โลก
และถูกโลกดึงดูดเข้าสู่บรรยากาศ   เสียดสีกับบรรยากาศทำให้หลอมละลาย ปรากฏเป็นแสงวาบ  ชาวบ้านเรียกว่า  ผีพุ่งไต้

 

อุกกาบาต  (Meteorite ) เป็นของแข็งที่เมื่อถูกโลกดึงเข้าสู่บรรยากาศ  เกิดการเผาไหม้แล้วหลอมละลายไม่หมด  ตกลงสู่พื้นโลก
 

ดาวหาง ( Comet)    เป็นก้อนน้ำแข็งที่สกปรก  มีเม็ดฝุ่นและละอองหินอยู่ภายใน  เมื่อโคจรใกล้ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการระเหิด  เกิดเป็นธุลีฝุ่นแก๊สและโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้าพุ่งออกจากดวงอาทิตย์  จึงทำให้เมื่อสะท้อนแสงดวงอาทิตย์  จะเห็นหางของดาวหางชี้ไปทางทิศตรงข้ามดวงอาทิตย์


คำนำ แบบทดสอบก่อนเรียน ระบบสุริยะ(1) กลางวัน กลางคืน/ทิศ
ข้างขึ้น ข้างแรม สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฤดูกาล น้ำขึ้นน้ำลง
แบบทดสอบหลังเรียน   แหล่งข้อมูลอ้างอิง ผู้จัดทำ