การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินทางการศึกษา
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการที่เป็นระบบเพื่อให้ได้ข้อมูล หรือพฤติกรรมที่เราต้องการค้นพบ โดยใช้ระบบจำนวนมาช่วยในการแปลความหมายของข้อมูลที่เก็บมาได้จากสิ่งที่ถูกวัด ข้อมูลที่เก็บมาได้ถือเป็นการวัดผล
ส่วนการประเมิน เป็นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลแล้วนำมาเทียบกับเกณฑ์เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ การจะสรุปผลการประเมินได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม จะต้องได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ซึ่งต้องใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพ
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
1. กำหนดสิ่งที่ต้องการวัด
2. นิยามสิ่งที่ต้องการวัด
3. เลือกชนิดของเครื่องมือ
4. สร้าง
5. ทบทวน
6. ตรวจสอบคุณภาพ
7. ทดลอง/ปรับปรุง
8. ทำฉบับจริง/จัดทำคู่มือ
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
การตรวจสอบสำหรับเครื่องมือทั่ว ๆ ไป
จะมีการตรวจสอบในสองลักษณะคือ ตรวจสอบรายข้อ(ความยาก, อำนาจจำแนก)
และตรวจสอบทั้งฉบับ(ความตรง, ความเที่ยง)
ความยาก
(สัดส่วนของผู้ที่ตอบถูกกับผู้ตอบทั้งหมด)
-แบบอิงกลุ่ม ใช้เทคนิค 27%
(แบ่งกลุ่มสูง กลุ่มต่ำ หาจำนวนคนตอบถูกในแต่ละกลุ่ม
นำมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนคนทั้งสองกลุ่มรวมกัน)
-แบบอิงเกณฑ์
แบ่งคนรู้/ไม่รู้โดยใช้คะแนนจุดตัดถาวร(แล้วหาว่าได้กลุ่มละกี่คน
นำจำนวนคนที่ตอบถูกหารด้วยจำนวนทั้งหมดในกลุ่ม(ทำทั้งสองกลุ่ม) ได้เท่าไร
นำทั้งสองกลุ่มมารวมกันแล้วหารด้วย 2)
อำนาจจำแนก
(ความสัมพันธ์ของความสามารถของผู้ตอบกับการตอบถูก)
-แบบอิงกลุ่ม
-ใช้เทคนิค 27%
(เหมือนหาความยากแบบอิงกลุ่มแต่นำจำนวนคนในกลุ่มสูงลบด้วยคนในกลุ่มต่ำแล้วหารด้วยจำนวนคนในกลุ่มสูง(หรือจำนวนคนทั้งสองกลุ่มหารด้วย2)
-แบบอิงเกณฑ์
-แบ่งกลุ่มรอบรู้/ไม่รอบรู้เหมือนหาความยากแบบอิงเกณฑ์
ได้เท่าไรนำผลในกลุ่มรอบรู้ตั้ง ลบด้วยผลในกลุ่มไม่รอบรู้
-กรณีไม่ใช่แบบวัดสติปัญญา
-วิธีที่ 1 หาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สูตรของเพียร์สัน(ข้อที่หากับคะแนนรวมของข้ออื่น
ๆ)
-วิธีที่ 2 แบ่ง 25%(กลุ่มสูง/กลุ่มต่ำ)
ทดสอบความแตกต่างด้วย t-test (เกณฑ์ 1.70 ขึ้นไป)
ความตรง
-ความตรงตามเนื้อหา
ใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) จาก ผชช.
เกณฑ์ .5 ขึ้นไป
-ความตรงตามเกณฑ์
-ความตรงตามสภาพ
ถ้าข้อมูลอันตรภาค ใช้สูตรของเพียร์สัน(กับคะแนนมาตรฐานหรือเกณฑ์)
ถ้าข้อมูลจัดอันดับใช้สูตรของสเปียร์แมน บราวน์
-ความตรงเชิงพยากรณ์ ใช้สูตรของเพียร์สัน(เทียบกับคะแนนเกณฑ์)
-ความตรงตามโครงสร้าง
-วิธีที่ 1 หา IOC
(กรณีไม่ใช่การวัดด้านเนื้อหา)
-วิธีที่ 2 เทคนิคกลุ่มรู้ชัด แล้วเปรียบเทียบโดยใช้
t-test (กรณีไม่ใช่การวัดด้านเนื้อหา)
-วิธีที่ 3 เทียบกับเครื่องมืออื่น โดยใช้สูตรของเพียร์สัน
-วิธีที่ 4 วิธีวิเคราะห์หลายลักษณะหลายวิธี
-วิธีที่ 5 หาความสอดคล้องภายในเครื่องมือ
-วิธีที่ 6 วิเคราะห์องค์ประกอบ
ความเที่ยง
-เชิงความคงที่ วิธีการสอบซ้ำ
แล้วใช้สูตรของเพียร์สัน
-เชิงความคล้าย
วิธีใช้ข้อสอบคู่ขนาน แล้วใช้สูตรของเพียร์สัน
-เชิงความสอดคล้องภายใน
-วิธีที่ 1 วิธีแบ่งครึ่งข้อสอบ หาครึ่งฉบับด้วยสูตรของเพียร์สัน
แล้วหาเต็มฉบับด้วยสูตรของสเปียร์แมน บราวน์
-วิธีที่ 2 วิธีใช้สูตร KR-20,KR-21(กรณีคะแนนเป็น 0 กับ
1)
-วิธีที่ 3 สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค(กรณีคะแนนไม่ใช่ 0 กับ 1)
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลยังมีอีกหลายด้าน เช่น ความเป็นปรนัย ความยุติธรรม ความสามารถในการนำไปใช้ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบคือความตรง และความเที่ยง โดยจะตรวจสอบความตรงเป็นอันดับแรกเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเครื่องมือสามารถวัดได้ตรงในสิ่งที่ต้องการวัด จากนั้นจะต้องตรวจสอบความเที่ยงเพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่า เครื่องมือมีความคงเส้น คงวาในการวัด เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อคิดอย่างหนึ่งว่า "เครื่องมือที่มีความตรง มักจะมีความเที่ยง แต่เครื่องมือที่มีความเที่ยง อาจจะไม่มีความตรงก็ได้"