สมบัติของวัสดุชนิดต่าง ๆ

โลหะ  
              เป็นวัสดุที่แข็ง มีหลายชนิด เช่น เหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง จะนำมาใช้ต่างกัน ส่วนเหล็กมีความแข็งแต่เป็นสนิม อะลูมิเนียม
แข็งน้อยกว่าเหล็กแต่เบาและไม่เป็นสนิม จึงใช้อลูมิเนียมทำภาชนะหุงต้มทองแดงเป็นโลหะที่แข็งเหมือนเหล็กแต่เบากว่ามากและดัดให้โค้งเป็นรูปต่าง ๆ ได้
             โลหะเป็นวัสดุที่มีลักษณะผิวมันวาว สามารถตีให้เป็นแผ่นเรียบ หรือดึงออกเป็นเส้นหรืองอได้โดยไม่หัก นำไฟฟ้า และนำความร้อน ได้ดี

ไม้
             ไม้ มีลักษณะแข็ง บางชนิดมีความทนทาน สามารถนำมาประดิษฐ์ดัดแปลง ทำที่อยู่อาศัย เฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือเครื่องใช้อื่น ๆ
เยื่อไม้นำมาทำกระดาษ เช่น สมุด หนังสือ หนังสือพิมพ์
กระดาษเนื้อเยื่ออ่อน

แก้ว
            
แก้วเป็นของแข็ง โปร่งใส ผิวเรียบ ทนต่อการขูดขีดและ
ความร้อนแต่แตกหักง่าย ส่วนใหญ่จะนำมาทำ แก้วน้ำ ขวด กระจก อุปกรณ์ในห้องทดลอง  นอกจากนั้นยังมีการผลิตแก้วให้มีคุณสมบัติพิเศษเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น เลนส์แว่นตา เลนส์แว่นขยาย กระจกเงา กระจกนิรภัย เป็นต้น

พลาสติก
พลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์
ที่ได้จากจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมัน)
มีน้ำหนักเบา ไม่นำความร้อน ไม่นำไฟฟ้า น้ำซึมผ่านไม่ได้
ไม่แตกหักง่ายบางชนิดมีความแข็ง บางชนิดสามารถยืดหยุ่นได้
นำมาทำของเล่นของใช้ได้หลากหลาย
เพราะกรรมวิธีในการผลิตไม่ซับซ้อนและทำให้มีสีต่าง ๆ ได้

 

ยาง
             ยาง ทำมาจากยางของต้นยางพารา มีความยืดหยุ่นดี ใช้ทำยางรถยนต์ ยางลบ ลูกโป่ง พื้นรองเท้า เป็นต้น

เซรามิก
เซรามิก เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากดิน หิน หรือแร่ธาตุอื่นๆ
ที่ไม่ใช่โลหะ โดยทำเป็นรูปทรงต่างๆ แล้วผ่านการให้ความร้อน
ที่อุณหภูมิสูงมาก ๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีความแข็ง แต่เปราะต่อแรงกระแทก ทนต่อสารเคมี ทนต่อสภาพอากาศและความชื้น
มีสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า
นิยมทำเป็นของประดับบ้าน และใช้ทำเป็นวัตถุทนไฟในอุปกรณ์ไฟฟ้า
 

ผ้า
            ทำมาจากเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยสังเคราะห์
            เส้นใยธรรมชาติ เป็นเส้นใยที่ได้จากพืชและสัตว์ ผ้าที่ผลิตจากเส้นใยที่ได้จากพืช ได้แก่ ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน ผ้าใยสับปะรด และผ้าป่าน ผ้าที่ผลิตจากเส้นใยที่ได้จากสัตว์ ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์
             เส้นใยสังเคราะห์ เป็นเส้นใยที่ผลิตจากสารเคมี ผ้าผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ ได้แก่ ผ้าไนลอน พอลิเอสเทอร์ และอะไครลิค มีสมบัติไม่ค่อยยับ ซักง่าย แห้งเร็ว ไม่ดูดซึมเหงื่อ เพราะไม่มีช่องระบายอากาศ จึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มในบ้านเราเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อน

              
             การรู้จักสมบัติเฉพาะของวัสดุชนิดต่าง ๆ ช่วยให้เราสามารถเลือกใช้วัสดุได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

สิ่งของบางอย่าง เช่น กาชงชา ทำจากวัสดุหลายชนิด ฝากาและหูกา
ทำด้วยพลาสติกแข็งที่ทนความร้อนจับแล้วไม่ร้อนมือ และมีโลหะแผ่นบาง ๆ
คาดรอบก้นกาเพื่อยึดกับหูกา ตัวกา ทำด้วยแก้วใสทนความร้อนเพื่อให้มองเห็นข้างในได้
ที่กรองใบชา
อยู่ด้านในตัวกาทำด้วยตาข่ายโลหะที่ไม่เป็นสนิมสำหรับกรองใบชาไม่ให้ผ่านออกไปปนกับน้ำชา

หน้าแรก วัสดุรอบตัวเรา

ประเภทของวัสดุ

สมบัติทั่วไปของวัสดุ

สมบัติของวัสดุชนิดต่าง ๆ

การเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของวัสดุ อันตรายจากการเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ทดสอบหลังเรียน คำนำ/ คำชี้แจง/เอกสารอ้างอิง