เล่าสู่กัน..(2)....
การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่นำเสนอก่อนหน้านี้เป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนเห็นว่าใช้กันบ่อย
แท้จริงแล้วยังมีวิธีการต่าง ๆ ในการหาประสิทธิภาพของสื่ออีกหลายวิธี
ในที่นี้จะขอนำมาเล่าเพิ่มเติม
ซึ่งความจริงเนื้อหาเหล่านี้ก็มีอยู่แล้วในหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
ที่นำมาเสนอนี้ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเพื่อนครูนะครับ
การหาประสิทธิภาพของสื่อ นอกจากการตรวจสอบเนื้อหา/รูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเกณฑ์ยอมรับได้คือ ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นสอดคล้อง และ เกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อโดยวิเคราะห์คะแนนจาก สูตร E1/E2 ซึ่งเกณฑ์ยอมรับได้คือ ถ้ากลุ่มสาระที่เน้นความรู้ความจำ ค่า E1/E2 มีค่า 80/80 ขึ้นไป ส่วนกลุ่มสาระที่เน้นทักษะ ค่า E1/E2 มีค่า 70/70 ขึ้นไปและ ค่า E1/E2ต้องมีค่าต่างกันไม่เกินร้อยละ 5 (อันนี้เพิ่มเติมจากที่เล่าไปแล้ว)
วิธีอื่น ๆ ที่พบในหนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิจัยในชั้นเรียน ได้แก่
1 ใช้วิธีการบรรยายคุณภาพหรือเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีการหรือนวัตกรรมหลังจากทดลองกับนักเรียนกลุ่มเล็ก
ๆ แล้ว อันนี้ต้องมีความสามารถในการบรรยายหน่อย
2 การใช้วิธีคำนวณจากค่าร้อยละ
หรือ P1:P2
เช่น
P1:P2 = 80:70
หมายถึงกำหนดคะแนนจุดผ่านร้อยละ 70 มีนักเรียนร้อยละ 80 สอบผ่าน
3 การหาค่าดัชนีประสิทธิผล
โดยใช้สูตร ที่นำ ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน
ลบด้วยร้อยละของคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน แล้วหารด้วยร้อยละของคะแนนเต็มหลังเรียน ลบด้วยร้อยละของคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน
เกณฑ์ยอมรับได้ คือค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าตั้งแต่ .50 ขึ้นไป
(ฟังดูแล้วอาจจะงง หาอ่านได้จากหนังสือ
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรมวิชาการ และ
หนังสือการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของสำนักนิเทศฯ สปช.)
สามวิธีที่เล่าเพิ่มเติมนี้ ผู้เขียนเองก็ยังไม่เคยใช้ และไม่ค่อยเห็นแพร่หลาย(ใครเห็นที่ไหนช่วยบอกด้วย)
ทั้งหมดนี้
เป็นเพียงขั้นตอนการพัฒนาสื่อก่อนนำไปใช้จริงเท่านั้น
ยังมีขั้นตอนสำคัญคือการนำไปใช้จริง ๆ กับกลุ่มตัวอย่าง
ซึ่งต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์และสรุปผลการใช้เป็นอันดับสุดท้าย
หากมีเวลาก็จะมาเล่าสู่กันฟังต่อรวมถึงแนวการเขียนรายงานตามรูปแบบของผู้เขียน
นะครับ
หน้าที่ 2 ::: หน้าที่ 3 ::: หน้าที่ 4 ::: หน้า 5