โลกมีบรรยากาศที่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา
ซึ่งเราเรียกว่า ลม
ลมเกิดขึ้นเมื่อเกิดความแตกต่างระหว่างความกดอากาศสองบริเวณไม่เท่ากัน
เนื่องจากอิทธิพลของความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้บริเวณต่าง ๆ ของโลกร้อนไม่เท่ากัน
บริเวณที่อากาศร้อน
อากาศจะลอยตัวสูงขึ้นทำให้ความกดอากาศต่ำลง
ในขณะที่บริเวณอากาศเย็น อุณหภูมิจะต่ำ ความกดอากาศจะสูงขึ้นเพราะอากาศจมตัว
จึงเกิดการหมุนเวียนของอากาศจากบริเวณอากาศเย็นที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณอากาศร้อนที่มีความกดอากาศต่ำ
บรรยากาศของโลกจะพยายามปรับตัวให้มีความกดอากาศเท่า ๆ กัน
ดังนั้น
บริเวณความกดอากาศสูงอากาศจะไหลไปแทนที่อากาศที่มีความกดอากาศต่ำกว่าอยู่ตลอดเวลา
เครื่องมือตรวจสอบทิศทางลม
เราเรียกว่า ศรลม ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นลูกศร มีหางเป็นแผ่นใหญ่
ศรลม จะหมุนรอบตัวตาม
แนวราบ
จะลู่ลมในแนวขนานกับทิศทางที่ลมพัด เมื่อลมพัดมา
หางลูกศรซึ่งมีขนาดใหญ่จะถูกลมผลักแรงกว่าหัวลูกศร
หัวลูกศรจึงชี้ไปทิศทางที่ลมพัดมา
|
|
พื้นดินและพื้นน้ำ
รับและถ่ายโอนความร้อนไม่เท่ากัน ดินจะรับและถ่ายโอนความร้อนได้เร็วกว่าน้ำ
ดังนั้นเมื่อดินได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์จึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นเร็วกว่าบริเวณพื้นน้ำและจะถ่ายโอนความร้อนจนอุณหภูมิลดต่ำลงเร็วกว่าน้ำด้วย
ลมบกลมทะเลเกิดขึ้นในบริเวณท้องถิ่นที่อยู่ติดกับทะเล
|
เนื่องจากในเวลากลางวัน พื้นดินรับความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำ อากาศเหนือพื้นดินร้อนกว่าจึงขยายตัวลอยตัวสูงขึ้น อากาศเหนือพื้นน้ำ ซึ่งเย็นกว่า จะจมตัวเคลื่อนที่ไปแทนที่ จึงเกิดลมพัดจากพื้นน้ำสู่พื้นดินเรียกว่าลมทะเล |
|
เมื่อถึงเวลากลางคืน พื้นดินถ่ายโอนความร้อนออกไปเร็วกว่าพื้นน้ำ อากาศเหนือพื้นดินจึงเย็นกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ อากาศเหนือพื้นน้ำ จึงขยายตัวลอยสูงขึ้น อากาศเหนือพื้นดินซึ่งเย็นกว่า จะจมตัวลงและเคลื่อนที่ไปแทนที่ ทำให้เกิดลมพัดจากพื้นดินสู่พื้นน้ำ เรียกว่า ลมบก
|
ลมหุบเขา ลมภูเขา
ลมหุบเขา เกิดขึ้นในเวลากลางวัน
โดยอากาศตามภูเขาและลาดเขาจะร้อน เพราะได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่
อากาศที่บริเวณใกล้ภูเขาที่ระดับความสูงเดียวกัน
ซึ่งมีความเย็นกว่าจึงเคลื่อนไปเข้าแทนที่
ลมภูเขา
เกิดขึ้นในเวลากลางคืนโดยอากาศตามภูเขาและลาดเขาจะเย็นลงอย่างรวดเร็วด้วยการถ่ายโอนความร้อนออก
อากาศตามลาดเขาที่เย็นและหนักกว่าอากาศบริเวณใกล้เคียงจึงเคลื่อนไปตามลาดเขา
สู่หุบเขาเบื้องล่าง
|
|
::แบบฝึก(1)::
หน้าแรก | แบบทดสอบก่อนเรียน | วัฏจักรของน้ำ | เมฆในท้องฟ้า |
หยาดน้ำฟ้า | บรรยากาศของเรา | อุณหภูมิของอากาศ | ความดันอากาศ |
ความชื้นของอากาศ | แบบฝึก(1) | แบบฝึก(2) | แบบฝึก(3) |
แบบทดสอบหลังเรียน | แหล่งข้อมูลอ้างอิง |