การระเหยของน้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ บนโลก การคายน้ำของพืช ตลอดจนการหายใจของสัตว์ ทำให้เกิดไอน้ำซึ่งเรามองไม่เห็นเนื่องจากมีสถานะเป็นแก๊ส ล่องลอยอยู่ทั่วไปในอากาศ อากาศทุกหนทุกแห่งมีไอน้ำแทรกตัวปะปนอยู่ แต่อาจมีปริมาณมากน้อยต่างกัน ปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศเราเรียกว่า ความชื้นของอากาศ
ความชื้นของอากาศในวันหนึ่ง ๆ จะเปลี่ยนแปลงโดยมีความชื้นของอากาศสูงในเวลากลางคืนและตอนเช้า เพราะอุณหภูมิของอากาศต่ำจึงรับไอน้ำในอากาศได้น้อย ส่วนในตอนกลางวันอุณหภูมิของอากาศสูงขึ้นจึงรับไอน้ำได้อีกมาก
ลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้น | ลักษณะภูมิอากาศแห้ง |
หรืออาจกล่าวได้ว่า ถ้าความชื้นในอากาศมีมากการระเหยของน้ำจากแหล่งต่าง ๆ จะน้อย เสื้อผ้าที่ตากจะแห้งช้า หรือรู้สึกเหนียวตัวและอึดอัด แต่ถ้าความชื้นในอากาศมีน้อยหรืออากาศแห้ง จะรู้สึกเย็นสบาย เสื้อผ้าแห้งง่าย จนถึงบางครั้งผิวหนังแห้งและแตก
ค่าความชื้นของอากาศ โดยทั่วไปมีวิธีบอกความชื้นของอากาศได้ 2 วิธี คือ
ค่าความชื้นสัมบูรณ์ หมายถึง
อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำในอากาศกับปริมาตร
ของอากาศนั้น มีค่าแสดงเป็น หน่วยต่อลูกบาศก์
ความชื้นสัมพัทธ์
หมายถึง อัตราส่วนของปริมาณไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศ ต่อ
ปริมาณไอน้ำ
ที่จะ ทำให้อากาศอิ่มตัว ณ อุณหภูมิเดียวกัน หรือ
อัตราส่วนของความดันไอน้ำที่มีอยู่จริง ต่อ ความดันไอน้ำอิ่มตัว
ค่าความชื้นสัมพัทธ์แสดงในรูปของร้อยละ (%)
|
ในการวัดความชื้นสัมพัทธ์ เราใช้เครื่องมือซึ่งเรียกว่า ไฮโกรมิเตอร์(Hygrometer) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด มีทั้งทำด้วยกระเปาะเทอร์มอมิเตอร์ และเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไฮโกรมิเตอร์ซึ่งสามารถทำได้เองและมีความน่าเชื่อถือเรียกว่าสลิงไซโครมิเตอร์ (Sling psychrometer) ประกอบด้วยเทอร์มอมิเตอร์จำนวน 2 อันอยู่คู่กัน โดยมีเทอร์มอมิเตอร์อันหนึ่งมีผ้าชุบน้ำหุ้มกระเปาะไว้ เรียกว่า กระเปาะเปียก (Wet bulb) ส่วนกระเปาะเทอร์มอมิเตอร์อีกอันหนึ่ง ไม่ได้หุ้มอะไรไว้ เรียกว่า กระเปาะแห้ง (Dry bulb) เมื่อหมุนสลิงไซโครมิเตอร์จับเวลา 3 นาที แล้วอ่านค่าแตกต่างของอุณหภูมิกระเปาะทั้งสองบนตารางเปรียบเทียบ ก็จะได้ค่าความชื้นสัมพัทธ์ มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ |
ภาพสลิงไซโครมิเตอร์แบบต่าง ๆ |
::ลม::
หน้าแรก | แบบทดสอบก่อนเรียน | วัฏจักรของน้ำ | เมฆในท้องฟ้า |
หยาดน้ำฟ้า | บรรยากาศของเรา | อุณหภูมิของอากาศ | ความดันอากาศ |
ลม | แบบฝึก(1) | แบบฝึก(2) | แบบฝึก(3) |
แบบทดสอบหลังเรียน | แหล่งข้อมูลอ้างอิง |