เมฆ คือไอน้ำที่เกิดการควบแน่นลอยอยู่ในระดับสูง เป็นอนุภาคน้ำหรือผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กลอยอยู่ในอากาศ เมฆอาจประกอบด้วยน้ำหรือน้ำแข็ง หรือทั้งสองอย่าง

                เมฆบนท้องฟ้าจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในขณะนั้น หรือที่กำลังจะเกิดขึ้น  เมฆบางชนิดเกิดขึ้นเมื่ออากาศดีเท่านั้น ในขณะที่บางชนิดทำให้เกิดฝน หรือพายุฝนฟ้าคะนองได้  การจำแนกชนิดของเมฆโดยใช้รูปร่างของเมฆเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น  3  ชนิดคือ

 

คิวมูลัส(Cumulus)  เป็นเมฆระดับต่ำ มีลักษณะเป็นก้อนหรือกระจุกกลม ซึ่งมีส่วนฐานแบน ส่วนบนนูนเด่น คล้ายดอกกะหล่ำขนาดใหญ่   เมื่อมีแสงส่องกระทบจะเห็นแสงสว่างสีขาว ส่วนฐานมักมีสีเข้ม เมฆชนิดนี้ก่อให้เกิดฝน

 


 

สตราตัส(Stratus) เป็นเมฆระดับต่ำอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นชั้นหนาเหมือนผ้าห่ม มีสีเทาทอดตัวใกล้พื้นผิวโลก มีลักษณะเป็นแผ่น แต่บางครั้งอาจพบเป็นแบบหย่อม เมฆชนิดนี้มักไม่ก่อให้เกิดฝน

 


 

เซอร์รัส(Cirrus) เป็นเมฆระดับสูง มีลักษณะเบา เป็นริ้วบาง ๆ เป็นปุยมองดูคล้ายขนนกสีขาว ประกอบด้วยผลึกน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่

 

          

นอกจาก 3 ลักษณะกว้าง ๆ ดังกล่าวแล้วยังมีลักษณะปลีกย่อยที่แตกต่างหรือ
ผสมผสานกัน ซึ่งในทางอุตุนิยมวิทยายังแบ่งเมฆออกเป็นชนิดต่าง ๆ อีกมากมาย
ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น

นการพยากรณ์อากาศเรามักได้ยินการบอกสภาพท้องฟ้าซึ่งจะใช้ปริมาณเมฆในท้องฟ้าเป็นเกณฑ์
โดยแบ่งพื้นที่ท้องฟ้าออกเป็น 10 ส่วนแล้วสังเกตว่าครอบคลุมพื้นที่ท้องฟ้ากี่ส่วนดังนี้

ลักษณะท้องฟ้า

ปริมาณเมฆ

1. แจ่มใส

ไม่มีเมฆ หรือมีน้อยกว่า 1 ส่วน

2. โปร่ง

มากกว่า 1 ส่วนแต่ไม่เกิน 3 ส่วน

3. เมฆบางส่วน

มากกว่า 3 ส่วนแต่ไม่เกิน5 ส่วน

4. เมฆเป็นส่วนมาก

มากกว่า 5 ส่วนแต่ไม่เกิน8 ส่วน

5. เมฆมาก

มากกว่า 8 ส่วนแต่ไม่เกิน9 ส่วน

6. เมฆเต็มท้องฟ้า

10 ส่วน

 

::หยาดน้ำฟ้า::

หน้าแรก แบบทดสอบก่อนเรียน วัฏจักรของน้ำ หยาดน้ำฟ้า
บรรยากาศ อุณหภูมิของอากาศ ความดันอากาศ ความชื้นของอากาศ
ลม แบบฝึก(1) แบบฝึก(2) แบบฝึก(3)
  แบบทดสอบหลังเรียน แหล่งข้อมูลอ้างอิง