ระบบขับถ่าย
ร่างกายมนุษย์มีกลไกต่าง ๆ คล้ายเครื่องยนต์ ร่างกายต้องใช้พลังงาน
การเผาผลาญพลังงานจะเกิด
ของเสีย ของเสียที่ร่างกายต้องกำจัดออกไปมีอยู่ 2 ประเภท
1. สารที่เป็นพิษต่อร่างกาย
2. สารที่มีปริมาณมากเกินความต้องการ
ระบบการขับถ่าย เป็นระบบที่ร่างกายขับถ่ายของเสียออกไป
ของเสียในรูปแก๊สคือลมหายใจ ของเหลวคือเหงื่อและปัสสาวะ
ของเสียในรูปของแข็งคืออุจจาระ
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแข็งคือ
ลำไส้ใหญ่(ดูระบบย่อยอาหาร)
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของแก๊สคือ
ปอด(ดูระบบหายใจ)
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปของเหลวคือ
ไต และผิวหนัง
-อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปปัสสาวะ
ได้แก่ ไต หลอดไต กระเพาะปัสสาวะ
-อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายของเสียในรูปเหงื่อ
คือผิวหนัง ซึ่งมีต่อมเหงื่ออยู่ในผิวหนังทำหน้าที่
ขับเหงื่อ
1.
การขับถ่ายของเสียทางลำไส้ใหญ่
การย่อยอาหารซึ่งจะสิ้นสุดลงบริเวณรอยต่อระหว่างลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่
ลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ 5 ฟุต ภายในมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 นิ้ว
เนื่องจากอาหารที่ลำไส้เล็กย่อยแล้วจะเป็นของเหลวหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ครึ่งแรกคือดูดซึมของเหลว
น้ำ เกลือแร่และน้ำตาลกลูโคสที่ยังเหลืออยู่ในกากอาหาร
ส่วนลำไส้ใหญ่ครึ่งหลังจะเป็นที่พักกากอาหารซึ่งมีลักษณะกึ่งของแข็ง
ลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหลอลื่นเพื่อให้อุจจาระเคลื่อนไปตาม
ลำไส้ใหญ่ได้ง่ายขึ้น
ถ้าลำไส้ใหญ่ดูดน้ำมากเกินไป เนื่องจากกากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่หลายวัน
จะทำให้กากอาหารแข็ง เกิดความลำบากในการขับถ่าย ซึ่งเรียกว่า ท้องผูก
สาเหตุของอาการท้องผูก
1. กินอาหารที่มีกากอาหารน้อย
2. กินอาหารรสจัด
3. การถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลาหรือกลั้นอุจจาระติดต่อกันหลายวัน
4. ดื่มน้ำชา กาแฟ มากเกินไป
5. สูบบุหรี่จัดเกินไป
6. เกิดความเครียด หรือความกังวลมาก
โดยปกติ
กากอาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ประมาณวันละ 300-500 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ซึ่งจะทำให้เกิด
อุจจาระประมาณวันละ 150 กรัม
2. การขับถ่ายของเสียทางปอด
เราได้ทราบจากเรื่องระบบหายใจแล้วว่า ปอดคืออวัยวะที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ
น้ำ และ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วจะออกจากเซลล์แพร่เข้าไปในเส้นเลือด
แล้วลำเลียงไปยังปอดเกิดการแพร่ของน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ถุงลมปอดแล้วเคลื่อนผ่านหลอดลมออกจาก
ร่างกายทางจมูก
3.
การขับถ่ายของเสียทางไต
จากระบบการหมุนเวียนโลหิต เลือดทั้งหมดในร่างกายจะต้องหมุนเวียนผ่านไต
โดยนำสารทั้งที่ยังมีประโยชน์และสารที่ไม่มีประโยชน์แล้วมาที่ไต
ของเสียจะถูกไตกำจัดออกมาในรูปปัสสาวะ
ไต มีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว มีอยู่ 2 ข้าง
ติดอยู่กับด้านหลังของช่องท้องยาวประมาณ 11 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร
และหนา 3 เซนติเมตร ตรงกลางเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ
ภายในไตมีหน่วยไตเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก
กระบวนการขับถ่าย เริ่มจากหลอดเลือดที่นำเลือดมาจากหัวใจ
เลือดและสารที่มากับเลือดจะถูกส่งเข้าหน่วยไต
หน่วยไตจะกรองสารที่มีอยู่ในเลือด
สารที่ยังมีประโยชน์จะถูกหน่วยไตดูดซึมกลับคืนมา ส่วนของเสีย
อื่น ๆ
จะถูกส่งไปตามหลอดไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะซึ่งมีความจุประมาณครึ่งลิตร
ในวันหนึ่ง ๆ
คนเราจะขับถ่ายปัสสาวะออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร
ปริมาณการขับถ่ายในแต่ละวันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
- ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
- ชนิดของอาหารและเครื่องดื่ม เช่น แตงโม เหล้า ทำให้การขับถ่ายปัสสาวะมากขึ้น
- การเสียน้ำของร่างกายทางอื่น
4. การขับถ่ายของเสียทางผิวหนัง
ในผิวหนังของคนเราสามารถขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายทางรูขุมขน
ซึ่งสิ่งที่ถูกขับออกมาคือ เหงื่อ
เหงื่อที่ถูกขับออกมาทางต่อมเหงื่อ ในเหงื่อประกอบด้วยน้ำประมาณ 99
เปอร์เซ็นต์ สารอื่น ๆ อีก 1 เปอร์เซ็นต์ เป็นพวกเกลือโซเดียมคลอไรด์
สารอินทรีย์ พวกยูเรีย และมีน้ำตาล แอมโมเนีย กรดแลคตริก และกรดอะมิโนอีกเล็กน้อย
ประโยชน์ของการระเหยของเหงื่อ คือ เป็นการปรับระดับอุณหภูมิของร่างกาย
โดยระบายความร้อนไปกับเหงื่อที่ระเหย
ปริมาณเหงื่อที่ถูกขับออกมาจะเกิดขึ้นได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 32 องศาเซลเซียส
การปฏิบัติตนเพื่อดูแลรักษาอวัยวะในระบบขับถ่าย
1. ดื่มน้ำสะอาดวันละมาก ๆ รับประทานอาหารที่สุกใหม่ ๆ
2. ไม่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ
3. ควรอาบน้ำชำระร่างกายทุกวัน
4. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
5. ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบปรึกษาแพทย์
แบบฝึก 1
|